วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 15 วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2559


การบันทึกครั้งที่ 15วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปเตรียมสื่อต่าง ๆเพื่อที่จะไปจัดโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 14วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ปรึกษาโครงการกับอาจารย์ เพื่อไปจัดทำโครงการในสัปดาห์หน้า






วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 13 วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 

                    วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 




  • กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ชี้แจงเรื่องโครงการให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มฟังพร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆในการทำโครงการ




การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ชี้แจงในการทำโครงการและจดบันทึก
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังและไม่คุยกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 12 วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2559


การบันทึกครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2559



  • กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาพูดเกียวกับปัญหาที่พบเจอในการไปแจกแบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าเจออุปสรรคอะไรกันบ้าง
กลุ่มที่ 1 

กลุ่มที่ 2

กลุ่มที่ 3

กลุ่มที่ 4

กลุ่มที่ 5

  • กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มรวบรวมแบบสอบถามและวิเคราะห์แบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครอง ตั้งแต่ข้อมูลทั่วไปจนถึงข้อคำถามเพื่อเรียงลำดับความต้องการของผู้ปกครองว่าผู้ปกครองต้องการรู้เรื่องใดมากที่สุด เพื่อเป็นการตัดสินใจเลือกทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองต่อไป


ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานในแต่ละกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังและไม่คุยกันในขณะเพื่อนนำเสนองาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น







วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 11 วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2559


การบันทึกครั้งที่ 11วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2559 

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชย วันปิยมหาราช






วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10 วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2559


การบันทึกครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2559 
  

     ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาออกไปสำรวจความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการทำโครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือของการสำรวจ

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 9 วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2559


การบันทึกครั้งที่ 9วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2559 




วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การเขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


            อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม แล้วให้นักศึกษาช่วยกันในกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับการทำโครงการ เพื่อออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน

กลุ่มที่1 ฟ.ฟัน ฟันสวย


กลุ่มที่2 การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย


กลุ่มที่3 หนังสือนิทานสร้างสรรค์สานสัมพันธ์สำหรับครอบครัว


กลุ่มที่4 อาหารเด็กวัยใส


กลุ่มที่5 สื่อรักแสนสนุกเสริมสร้างเพื่อลูกน้อย


ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานในแต่ละกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังและไม่คุยกันในขณะเพื่อนนำเสนองาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น






วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8 วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2559



การบันทึกครั้งที่ 8วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2559 




        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครอง
กลุ่มที่1 งานวิจัยเรื่อง : การให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรู้หนังสือของเด็กวัยเตาะแตะ

กลุ่มที่2 งานวิจัยเรื่อง : การประยุกต์กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการส่งเสริมความรู้เด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง

 กลุ่มที่3 งานวิจัยเรื่อง : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วมร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้

กลุ่มที่4 งานวิจัยเรื่อง : การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรปลูกฝังและพฤติกรรมที่ปรากฎด้านคุณธรรมของเด็กปฐมวัย

 กลุ่มที่5 งานวิจัยเรื่อง : การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามหลักสังคหวัตถุ4 ต.ธารทหาร อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

กลุ่มที่6 งานวิจัยเรื่อง : ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย

กลุ่มที่7 งานวิจัยเรื่อง : ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา จ.ปทุมธานี

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานในแต่ละกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังและไม่คุยกันในขณะเพื่อนนำเสนองาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

วันสอบกลางภาค วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ.2559


วันสอบกลางภาค
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ.2559 
 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7 วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 7

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ.2559 

บทที่5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา


        สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี  
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์
เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัวเป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
- ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น



จดหมายข่าวและกิจกรรม
เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครองในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็กโดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
    - ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
    - กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
    - ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า3ปีผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขเกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
    - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
    - วิธีการสนทนากลุ่ม
    - วิธีอภิปรายกลุ่ม
    - วิธีการบรรยาย  
โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
    - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
    - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
    - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
    - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”




ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง

จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียนโดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
    - ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
    -  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
    - ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
    - ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
    - กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ


การสนทนา
การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุดการสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครองและช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
-   เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
-   เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
ห้องสมุดผู้ปกครอง
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆอันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็กการจัดการศึกษาซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 



ป้ายนิเทศ

ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
    - ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
    - ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
    - ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
    - ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
    - ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
    - กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
    - ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น



โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก 
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองสมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
   - สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
   - จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้พ่อแม่ ครอบครัวคู่สมรสมีความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
   - ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรมให้แก่พ่อแม่ คู่สมรสใหม่และผู้ปกครอง
   - สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
   - จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง  


นิทรรศการ
เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
    - นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
    - นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
    - นิทรรศการเพื่อความบันเทิง  


มุมผู้ปกครอง
เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครอง
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
- เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
- เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ


การประชุม
เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุดซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายจุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
- เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
- แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
- ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
- สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ

จุลสาร
เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
- เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ  
- จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
- ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม  
- ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
- ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง

คู่มือผู้ปกครอง
เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
- ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
- หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
- บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
- อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
- การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
- กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
- การวัดและประเมินผล

ระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป  (WWW.)  การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป  บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์ สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
- ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา  - เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
- สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก 
- กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
- คำถามของผู้ปกครอง

        รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด  



คำถามท้ายบทที่ 5


1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย 
ตอบ
4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ